Quantcast
Channel: wifi wireless adapter – Notebookspec
Viewing all articles
Browse latest Browse all 8

6 ตัวรับสัญญาณ WiFi ตัวเด็ดน่าใช้ ต่อคอมแล้วเน็ตลื่นได้ใจ! อัพเดทปี 2023

$
0
0

ตัวรับสัญญาณ WiFi ยุคนี้น่าใช้สุดๆ ต่อเน็ตทำงานหรือเล่นเกมก็ดีไม่แพ้สาย LAN เลยนะ!

ตัวรับWifi

ในยุคที่แทบทุกสิ่งเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจนหมดแล้ว ใครที่มีคอมพิวเตอร์ส่วนตัวแล้วต้องต่ออินเตอร์เน็ตก็คงอยยากหาตัวรับสัญญาณ WiFi ดีๆ สักตัวมาต่อเข้าเครื่องให้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา ไม่ต้องฝากความหวังเอาไว้กับสาย LAN อย่างเดียวอีกต่อไป ซึ่งข้อดีของตัวรับสัญญาณ WiFi นอกจากความสะดวกสบาย ย้ายคอมพิวเตอร์ไปในจุดที่สาย LAN เชื่อมต่อไม่ถึงก็ยังต่อเน็ตได้สบายๆ แล้ว ถ้าเลือกเป็น Wi-Fi 6 หรือ 6E เมื่อไหร่ก็รับส่งข้อมูลได้เร็วและเสถียรยิ่งกว่า Wi-Fi 5 อย่างชัดเจน

Advertisement

อันที่จริง Wi-Fi 5 นั้นก็ยังใช้งานได้ดีหากเน้นใช้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตดูหนังฟังเพลงทั่วไป และมันยังรองรับคลื่น 5GHz ได้ด้วยแต่จะมีพื้นที่รับสัญญาณไม่กว้างมาก ในขณะที่ Wi-Fi 6 นั้นถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก Wi-Fi 5 จะรับสัญญาณแบบ Dual Band ได้ จึงมีพื้นที่รับสัญญาณกว้างแบบคลื่น 2.4GHz และได้ความเร็วระดับ 5GHz ควบคู่กัน มี OFDMA (Orthogonal Frequency-Division Multiple Access) เป็นการเข้ารหัสรับส่งข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ได้หลายเครื่องพร้อมๆ กัน ซึ่งถ้า Router และตัวรับสัญญาณ WiFi มีฟีเจอร์นี้ทั้งคู่ก็สามารถรับส่ง Package ข้อมูลได้เร็วขึ้น กดค่า Latency ได้ต่ำกว่า Wi-Fi 5 อย่างชัดเจนแถมยังรองรับแบนด์วิธ 160MHz ทำให้เวลาดูหนังฟังเพลงผ่านระบบ Streaming ได้ดี รองรับความละเอียดสูงระดับ 4K, 8K หรือแม้แต่ VR ได้ ส่วนความเร็วสูงสุดที่ Wi-Fi 6 ทำได้อยู่ที่ 9.6Gbps หรือ 1,228.8MB/s (1.2GB/s) และยังมีระบบรักษาความปลอดภัย WPA 3 ซึ่งเข้ารหัสป้องกันการเจาะข้อมูลมาให้อย่างแน่นหนาระดับ 192-bit cryptographic มาให้อีกด้วย ดังนั้นมันจึงปลอดภัยและน่าใช้กว่า Wi-Fi 5 มาก ซึ่งถ้าใครต้องการอัพเกรดตัวรับสัญญญาณ WiFi อันเก่าแล้วอยากอัพเกรดก็สามารถถอดเปลี่ยนตัวใหม่ใส่เข้าไปได้เลย

ตัวรับสัญญาณ WiFi

จากประสบการณ์ตรงของผู้เขียน ถ้าพีซีมีตัวรับสัญญาณ WiFi ติดคู่กับ LAN มีประโยชน์มากกว่าที่คิด นอกจากเป็นแบ็คอัพให้สาย LAN ได้แล้ว กรณีอินเตอร์เน็ตจาก Router มีปัญหาใช้งานไม่ได้แต่ต้องรีบส่งงานก็ปล่อยสัญญาณจากสมาร์ทโฟนให้พีซีของเราทำงานต่อได้ทันที แถมยังใช้เช็คว่าสาย LAN หรือ Router มีปัญหาได้ ซึ่งถ้าต่อ Wi-Fi ได้ แต่ LAN มีปัญหาก็สันนิษฐานได้ทันทีว่าสาย LAN อาจมีปัญหา หรือถ้าต่อไม่ได้สักทางก็สรุปว่า Router หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตมีปัญหาก็ได้ด้วย

นอกจากนี้ ตัวรับสัญญาณ WiFi หลายๆ ตัวก็พ่วงระบบ Bluetooth มาให้สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเมาส์, จอยเกม, หูฟัง, ลำโพงพกพา ฯลฯ ก็เอามาเชื่อมต่อได้หมด ไม่มีสายไฟหรือ USB ให้รกโต๊ะและไม่ต้องหาตัวการ์ด Bluetooth มาต่อคอมให้เปลืองช่อง USB อีกด้วย 

สรุปสเปค 6 ตัวรับสัญญาณ WiFi น่าใช้ น่าซื้อมาใส่คอม ติดแล้วเน็ตเร็วสะใจ!!

สเปคตัวรับสัญญาณ WiFi Connectivity Frequency
&
Bandwidth
Technology OS ราคา
(บาท)
Intel AX210 Pro WiFi 6E Wi-Fi 6E
มาตรฐาน
802.11ax

Bluetooth 5.2
2.4GHz

5GHz

6GHz

Bandwiodth
160MHz
MU-MIMO

Intel vPro

OFDMA
Windows 10

Windows 11

Linux

Chrome OS
990
ASUS PCE-AX3000 Wi-Fi 6
มาตรฐาน
802.11ax

Bluetooth 5.0
2.4GHz 574Mbps

5GHz 2402Mbps
OFDMA

MU-MIMO

WPA 3
Windows 10

Windows 11

Linux
949
ASUS PCE-AX58BT Wi-Fi 6
มาตรฐาน
802.11ax

Bluetooth 5.0
2.4GHz 574Mbps

5GHz 2402Mbps
OFDMA

MU-MIMO

WPA 3
Windows 10

Windows 11

Linux
1,750
TP-Link Archer T6E Wi-Fi 5
มาตรฐาน
802.11ac
2.4GHz 400Mbps

5GHz 867Mbps
WPA2-PSK

Ad-Hoc
Windows XP
เป็นต้นไป
1,090
TP-Link Archer TX3000E Wi-Fi 6
มาตรฐาน
802.11ax

Bluetooth 5.2
2.4GHz 574Mbps

5GHz 2402Mbps
OFDMA

MU-MIMO

WPA 3
Windows 10
เป็นต้นไป
1,850
TP-Link Archer TXE72E Wi-Fi 6E
มาตรฐาน
802.11ax

Bluetooth 5.3
2.4GHz 574Mbps

5GHz 2402Mbps

6GHz 2402Mbps
OFDMA

MU-MIMO

1024-QAM

WPA 3
Windows 10

Windows 11
3,522

6 ตัวรับสัญญาณ WiFi น่าใช้ อัพเกรดก็ดีใส่เพิ่มก็ดีสุดๆ

จากข้อดีที่กล่าวไป หากใครอยากใส่ตัวรับสัญญาณ WiFi ดีๆ มาใส่ให้คอมพิวเตอร์ต่ออินเตอร์เน็ตได้สะดวกทุกที่ ไม่ต้องลากสาย LAN ให้วุ่นวายล่ะก็ ผู้เขียนมีตัวรับสัญญาณน่าใช้แนะนำทั้งหมด 6 รุ่นได้แก่

  1. Intel AX210 Pro WiFi 6E (990 บาท)
  2. ASUS PCE-AX3000 (949 บาท)
  3. ASUS PCE-AX58BT (1,750 บาท)
  4. TP-Link Archer T6E (1,090 บาท)
  5. TP-Link Archer TX3000E (1,850 บาท)
  6. TP-Link Archer TXE72E (3,522 บาท)
1. Intel AX210 Pro WiFi 6E (990 บาท)

sg 11134201 22090 ghulppqt5thv93

ตัวแรกเป็น Intel AX210 Pro WiFi 6E รุ่น OEM แบบติดซิ้งค์ระบายความร้อนกับเสาสัญญาณคู่บนฐานวางโดยเฉพาะให้เลือกที่ตั้งเสาได้ตามต้องการ ตัวการ์ดเชื่อมต่อกับเมนบอร์ดของพีซีด้วยหัว PCIe แล้วลงไดรเวอร์ติดตั้งใช้งานได้ทันที สเปคของตัวรับสัญญาณ WiFi นี้จะเชื่อมต่อ Wi-Fi 6E มาตรฐาน 802.11ax จับคลื่น 2.4GHz, 5GHz, 6GHz ได้ มีแบนด์วิธ 160MHz รองรับเทคโนโลยี MU-MIMO, Intel vPro และ OFDMA และเชื่อมต่อ Bluetooth 5.2 ได้ รองรับระบบปฏิบัติการ Windows 10, Windows 11, Linux และ Chrome OS อีกด้วย ถ้าใครอยากใช้ Wi-Fi มาตรฐานใหม่ล่าสุดโดยไม่แคร์แบรนด์ไม่ซีเรียสเรื่องประกันก็ซื้อตัวรับสัญญาณ WiFi ตัวนี้มาลองได้ และส่วนตัวผู้เขียนก็แนะนำให้ลองเล่นได้เพราะการ์ด WiFi เหล่านี้ค่อนข้างทนทานไม่เสียง่ายด้วย

สเปคของ Intel AX210 Pro WiFi 6E
Connectivity Wi-Fi 6E มาตรฐาน 802.11ax, Bluetooth 5.2
Frequency&Bandwidth 2.4GHz, 5GHz, 6GHz 160MHz
Technology MU-MIMO, Intel vPro, OFDMA
OS Windows 10, Windows 11, Linux, Chrome OS
Price 990 บาท (tichakorn.ch Shopee)
2. ASUS PCE-AX3000 (949 บาท)

l8xjac9jbyaezy6i setting xxx 0 90 end 800 1

แบรนด์ชั้นนำอย่าง ASUS ก็มีตัวรับสัญญาณ WiFi ให้เลือกเช่นกันและราคาไม่แพงมากอย่างรุ่น ASUS PCE-AX3000 ตัวนี้จะเป็นแบบเสาติดกับการ์ดโดยตรงช่วยประหยัดพื้นที่ไม่ต้องลากสายหรือหาที่ตั้งให้แท่นตั้งเสา รองรับ Wi-Fi 6 มาตรฐาน 802.11ax โดยแบ่งความเร็วคลื่น 5GHz และ 2.4GHz เป็น 2402Mbps และ 574Mbps รองรับเทคโนโลยี OFDMA, MU-MIMO, WPA 3 และ Bluetooth 5.0 ในตัว รองรับระบบปฏิบัติการ Windows 10, Windows 11 และ Linux ครบถ้วน ซึ่งถ้าอยากได้แบรนด์ไว้ใจได้คุณภาพดีสักตัวมาใส่คอมสำนักงานหรือเอาไว้เล่นเกมก็ซื้อตัวนี้ไปใช้ได้และราคาก็ไม่แพงมากด้วย

สเปคของ ASUS PCE-AX3000
Connectivity Wi-Fi 6 มาตรฐาน 802.11ax, Bluetooth 5.0
Frequency&Bandwidth 2.4GHz, 5GHz (574+2402Mbps)
Technology OFDMA, MU-MIMO, WPA 3
OS Windows 10, Windows 11, Linux
Price 949 บาท (Hardware Corner Shopee)
3. ASUS PCE-AX58BT (1,750 บาท)

1ac20c1cf95e4348734f3e59dcfdb968

ตัวรับสัญญาณ WiFi ของ ASUS อีกรุ่นที่ประสิทธิภาพดีน่าใช้และรับส่งข้อมูลได้เร็วเป็นรุ่น ASUS PCE-AX58BT ซึ่งทางบริษัทออกแบบให้มีฐานติดเสาสัญญาณแยกออกมาโดยเฉพาะเพื่อให้รับและกระจายสัญญาณได้ดีและครอบคลุมขึ้น รองรับการเชื่อมต่อ Wi-Fi 6 มาตรฐาน 802.11ax รองรับคลื่น 2.4GHz, 5GHz ความเร็ว 574Mbps และ 2402Mbps แบนด์วิธ 160MHz มีเทคโนโลยี OFDMA, MU-MIMO, WPA 3 และ Bluetooth 5.0 รองรับระบบปฏิบัติการ Windows 10, Windows 11 และ Linux ด้วย ส่วนตัวผู้เขียนแนะนำว่าถ้าจะหา WiFi Card ไปต่อกับเกมมิ่งพีซีก็แนะนำให้ซื้อตัวนี้ไปใช้จะดีกว่าเพราะลากเสาไปตั้งในจุดที่รับส่งสัญญาณได้ดีได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้นนั่นเอง

สเปคของ ASUS PCE-AX58BT
Connectivity Wi-Fi 6 มาตรฐาน 802.11ax, Bluetooth 5.0
Frequency&Bandwidth 2.4GHz, 5GHz (574+2402Mbps)
Technology OFDMA, MU-MIMO, WPA 3
OS Windows 10, Windows 11, Linux
Price 1,750 บาท (JIB Shopee Mall)
4. TP-Link Archer T6E (1,090 บาท)

9bde9151af7554d3f119d5715c54e92c e1677557066144

ด้านแบรนด์ TP-Link ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบ Wi-Fi ก็มี Wi-Fi Card รุ่น TP-Link Archer T6E ซึ่งเป็นรุ่นราคาประหยัดแต่คุณภาพดีไว้ใจได้แถมยังติดฮีตซิ้งค์มาช่วยระบายความร้อนของตัวการ์ดอีกด้วย ตัวการ์ดเชื่อมต่อผ่านอินเตอร์เฟส PCIe เข้ากับเมนบอร์ดและลงไดรเวอร์ใช้งานได้เลย เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่าน Wi-Fi 5 มาตรฐาน 802.11ac รองรับคลื่น 2.4GHz, 5GHz ความเร็ว 400Mbps และ 867Mbps รองรับเทคโนโลยี WPA2-PSK, Ad-Hoc ในตัว รองรับระบบปฏิบัติการ Windows XP เป็นต้นไป เหมาะกับคอมสำนักงานเป็นหลักแต่ไม่เหมาะกับเกมมิ่งพีซีเพราะไม่รองรับ Bluetooth จึงต่อจอยเกม, เมาส์ไร้สายบางรุ่นไม่ได้และต้องหา USB Bluetooth มาต่อเพิ่มแทน แต่ถ้าไม่ได้เน้นใช้ Bluetooth ก็ซื้อตัวนี้ไปใช้ได้

สเปคของ TP-Link Archer T6E
Connectivity Wi-Fi 5 มาตรฐาน 802.11ac
Frequency&Bandwidth 2.4GHz, 5GHz (400+867Mbps)
Technology WPA2-PSK, Ad-Hoc
OS Windows XP เป็นต้นไป
Price 1,090 บาท (KSC Official Shopee)
5. TP-Link Archer TX3000E (1,850 บาท)

d11a7ec97a66a01892c9e71a54afc4d8 e1677557116263

สำหรับเกมมิ่งพีซีที่อยากได้ตัวรับสัญญาณ WiFi ดีๆ ไว้เล่นเกมล่ะก็ TP-Link Archer TX3000E เป็นตัวเลือกที่ดีมาก เพราะนอกจากซิ้งค์ระบายความร้อนตัวการ์ดแล้ว ทางบริษัทยังออกแบบเสาสัญญาณเป็นแบบแท่นติดเสาให้ลากสสายไปวางในจุดที่ต้องการให้รับสัญญาณได้ดีขึ้นและทางบริษัทก็เคลมว่าการ์ดนี้กดค่า Latency ได้ต่ำมาก เหลือเพียง 7.9ms เท่านั้น การเชื่อมต่อรองรับ Wi-Fi 6 มาตรฐาน 802.11ax คลื่น 2.4GHz, 5GHz ความเร็ว 574Mbps และ 2402Mbps และ Bluetooth 5.2 ครบถ้วน มีเทคโนโลยี OFDMA, MU-MIMO, WPA 3 ครบถ้วน ถ้าใช้ร่วมกับ Router ของ TP-Link จะเรียกประสิทธิภาพออกมาได้เต็มที่และทางบริษัทแนะนำให้ใช้กับระบบปฏิบัติการ Windows 10 เป็นต้นไปจะดีที่สุด หากใครจะย้ายมาใช้ Wi-Fi เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตทั้งทำงานและเล่นเกม ไม่ต้องเดินสาย LAN ให้วุ่นวายแล้ว แนะนำให้ซื้อ TP-Link รุ่นนี้ไปใช้ได้เลย

สเปคของ TP-Link Archer TX3000E
Connectivity Wi-Fi 6 มาตรฐาน 802.11ax, Bluetooth 5.2
Frequency&Bandwidth 2.4GHz, 5GHz (574+2402Mbps)
Technology OFDMA, MU-MIMO, WPA 3
OS Windows 10 เป็นต้นไป
Price 1,850 บาท (JIB Shopee Mall)
6. TP-Link Archer TXE72E (3,522 บาท)

sg 11134201 22090 cay1ckszq2hvec

ตัวรับสัญญาณ WiFi ตัวสุดท้ายจาก TP-Link เป็น TP-Link Archer TXE72E เป็นรุ่นประสิทธิภาพสูงแต่ราคาก็แรงใช้ได้เช่นกัน แต่ข้อดีของการ์ดตัวนี้จะจับสัญญาณ Wi-Fi แบบ 3 คลื่น (Tri-Band) พร้อมกัน คือ 6GHz, 5GHz, 2.4GHz ความเร็ว 2402Mbps, 2402Mbps และ 574Mbps ตามลำดับ แบนด์วิธ 160MHz ติดตั้งเสาสัญญาณ Multi-directional ให้รับสัญญาณได้ 360 องศา ให้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ดีขึ้น รองรับ Wi-Fi 6E มาตรฐาน 802.11ax และรองรับ Bluetooth 5.3 มีเทคโนโลยี OFDMA, MU-MIMO, 1024-QAM และ WPA 3 ได้ในตัว รองรับระบบปฏิบัติการ Windows 10 เป็นต้นไป แต่ถ้าใช้ Windows 11 จะรับคลื่น 6GHz ได้ เป็นตัวรับสัญญาณ WiFi ที่ดีสุดๆ อีกรุ่น แม้ราคาจะสูงแต่ก็คุ้มค่าลงทุนซื้อมาประกอบใส่เกมมิ่งพีซีมากๆ หากใครรับราคาของมันได้ก็แนะนำให้ซื้อมาใช้มากๆ

สเปคของ TP-Link Archer TXE72E
Connectivity Wi-Fi 6E มาตรฐาน 802.11ax, Bluetooth 5.3
Frequency&Bandwidth 6GHz, 5GHz, 2.4GHz (2402Mbps, 2402Mbps, 574Mbps)
Technology OFDMA, MU-MIMO, 1024-QAM, WPA 3
OS Windows 10, Windows 11
Price 3,522 บาท (everyshop.th Shopee)

paul hanaoka KRAk 61pgTo unsplash

แม้ผู้ใช้หลายๆ คนจะติดภาพว่าจะต่อเน็ตทั้งทีต้องใช้สาย LAN ถึงจะดีและเสถียรถูกใจใครหลายๆ คน แต่ตัวรับสัญญาณ WiFi ในยุคนี้เมื่อเป็น Wi-Fi 5, Wi-Fi 6 ขึ้นไปแล้วมันก็สามารถรับส่งข้อมูลได้ดีแทบไม่ต่างกันเลยและยังมีจุดแข็งเรื่องความสะดวกสบาย เหมาะกับคนที่ชอบย้ายที่ตั้งคอมไปมาจัดพื้นที่โต๊ะให้สวยงามหรือพื้นที่ในห้องไม่เอื้อให้เดินสาย LAN ก็เปลี่ยนมาใช้มันแทนได้เช่นกัน

แต่สิ่งสำคัญนอกจากตัวรับสัญญาณ WiFi จะดีแล้ว ตัวส่งสัญญาณ WiFi หรือกล่อง Router ก็ต้องดีพอจะปล่อยสัญญาณอินเตอร์เน็ตได้เร็วด้วย แม้กล่องเดิมจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตจะทำได้ดีระดับหนึ่ง แต่ถ้าเลือกได้ผู้เขียนก็อยากให้หากล่อง Router ดีๆ มาต่อใช้แทน จะได้ใช้อินเตอร์เน็ตได้เร็วทันใจยิ่งขึ้น


บทความที่เกี่ยวข้อง

ลำโพงพกพา 1

Artboard 1 1

MSI Titan GT77 HX 13V


Viewing all articles
Browse latest Browse all 8

Trending Articles


เตือนภัย บริษัท smart info tech โทรมาหลอกสมัคร SMS ดูดวงดูดเงิน


ด่วน! สพป.สกลนคร เขต 1 รับสมัครลูกจ้างชั่วคราว และครูอัตราจ้าง 10 อัตรา


แอร์ LG ขึ้นCH 21ต้องแก้อย่างไรค่ะ


ใหม่ ISUZU MU-X 2014-2015 ราคา อีซูซุ มิว เอ็กซ์ ตารางราคา-ผ่อน-ดาวน์


อาชีพเสริมปักแผ่นเฟรม งานฝีมือทําที่บ้าน หารายได้พิเศษ ทำได้ทุกจังหวัด


ซูมอิน Hesong Entertainment ค่ายสังกัดดาราที่ทรงอิทธิพล พร้อมเปิดตัวสมาชิกใหม่!


มีใครหลงเชื่อสมัครสมาชิกกับบริษัทขายตรง Beyond Beauty (By PAJ) เหมือนเราบ้าง...


รีวิว Preen House ครีมเวชสำอางค์ Peppermint ดีท็อกซ์ผิว


ใช้บัตร M Pass ถ้าจะนั่งที่นั่ง Honeymoon,Opera Chair...


คลิป ฉากเด็ด ดาราดัง ตั๊ก บงกช (uncensor)